น้ำแห้งขอดในฤดูแล้ง
หนอง หมายถึง แหล่งน้ำที่มีน้ำขัง อาจมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ได้ และมักจะแห้งขอดในฤดูแล้ง มีน้ำมากในฤดูฝน โง้ง ในภาษาอีสานมีความหมายว่า โค้ง, งอ, คดเคี้ยว
ดังนั้นคำว่า "หนองโง้ง" จึงความหมายว่า แหล่งน้ำที่มีลักษณะโค้งงอ อยู่ที่บ้านนาเหนือ ตำบล
วิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จ้งหวัดบึงกาฬ ห่างจากตัวเมืองจังหวัดบึงกาฬบริเวณสี่แยกไฟแดงไปทางทิศตะวันตกตามถนนบึงกาฬ - หนองคายประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบหนองโง้งอยู่ทางซ้ายของถนนก่อนถึงวัดสามัคคีอุปถัมภ์
ดู หนองโง้ง ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
หนองโง้งในสมัยก่อนเป็นหนองน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติต่อมาได้มีการขุดลอกหลายครั้งจนมีลักษณะที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ด้วยความที่เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติทำให้มีการจับปลาและนกเพื่อนำไปประกอบอาหารและขายจำนวนมาก ซึ่งส่งผลทำให้จำนวนปลาและนกลดลงในเวลาอันรวดเร็ว ทางเทศบาลตำบลวิศิษฐ์จึงได้ประกาศให้หนองโง้งเป็นบริเวณที่ห้ามล่าสัตว์ทุกชนิดโดยเฉพาะนก แต่ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืนลักลอบล่านกด้วยการยิงนก ดักตาข่าย ดักแร้ว เป็นประจำ รบกวนนกตลอดเวลา ทำให้ประชากรนกลดลงอย่างน่าใจหายโดยเฉพาะเป็ดแดงซึ่งเป็นนกอพยพที่มาอาศัยที่นี่เป็นประจำทุกปีจากหลายร้อยตัวเหลือไม่กี่ร้อยตัวในปัจจุบัน(2555) นกประจำถิ่นที่มีมากที่สุดได้แก่นกอีโก้ง
ฝูงนกเป็ดแดงบนท้องฟ้าหนองโง้ง
นกที่สำรวจพบในหนองโง้ง ได้แก่
นกเป็ดแดง นกเป็ดผีเล็ก นกยางโทนใหญ่
นกยางโทนน้อย นกยางควาย นกยางเปีย
นกยางกรอกพันธุ์จีน นกกระสานวล นกปากห่าง
นกโป่งวิด นกอีโก้ง นกอีล้ำ
นกตีนเทียน นกหัวโตเล็กขาเหลือง นกปากซ่อมหางเข็ม
นกทะเลขาแดงลายจุด นกอุ้มบาตร นกแซงแซวหางปลา
นกกระเต็นน้อยธรรมดา นกกิ้งโคลงคอดำ นกเอี้ยงหงอน
นกเอี้ยงสาริกา นกกระจิบธรรมดา นกกระจิบคอดำ
นกกระจิบหญ้าอกเทา นกจาบคาเล็ก นกกระจาบทอง
นกเขาไฟ นกแอ่นพง นกยอดหญ้าสีดำ
นกปรอดสวน นกปรอดทอง นกปรอดหัวโขน
นกกระปูด นกเด้าดินทุ่งเล็ก นกกระจอกบ้าน